สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๑๗๓๐  ให้นำมาตรา ๑๕๖๓, ๑๕๖๔ วรรค ๑ และ ๒ และ ๑๕๖๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมและในระหว่างศาลกับผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2519 ผู้จัดการมรดกแถลงรับว่าไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1728,1729แต่อ้างว่าเป็นคนจีนต้องให้ทนายความทำแทนซึ่งไม่เป็นเหตุผลอันสมควรเพราะล่วงเลยเวลามาถึง 8 เดือนแล้วและเมื่อศาลขยายเวลาให้อีก 1 เดือน ผู้จัดการมรดกก็ยังละเลยไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นเดิมโดยอ้างว่าผู้คัดค้านไปร้องคัดค้านในการที่ผู้จัดการมรดกจะขายที่ดินมรดก ซึ่งก็ไม่เป็นเหตุที่ทำให้ผู้จัดการมรดกไม่สามารถยื่นบัญชีทรัพย์ได้พฤติการณ์ที่ปรากฏจากคำแถลงรับของผู้จัดการมรดกดังกล่าวข้างต้นเป็นการแสดงออกถึงความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนสืบพยานอื่นอีกต่อไป

บัญชีทรัพย์มรดกที่ได้ยื่นไว้แล้วในวันยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่บัญชีทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 เพราะบัญชีทรัพย์มรดกตามมาตราดังกล่าว หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดกภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลแล้ว

การที่ผู้จัดการมรดกดำเนินการโอนขายที่ดินมรดกโดยยังไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1730, 1563 เพราะมิใช่เป็นการเร่งร้อนและจำเป็น

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292 - 1293/2512 การส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจพิสูจน์ลายมือนั้น. เมื่อผู้เชี่ยวชาญคนใดของกองพิสูจน์หลักฐานทำการตรวจพิสูจน์ได้ผลประการใดและทำรายงานความเห็นส่งมายังศาลแล้ว ก็เป็นการเพียงพอสำหรับปัญหาที่โต้เถียงกัน. ไม่จำต้องส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ใหม่. เพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำ.และไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม.

ผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปหลายคราว แต่ทำสัญญากู้รวมกันให้โจทก์ไว้ฉบับเดียวตามที่โจทก์นำมาฟ้อง. ดังนี้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปกี่คราวคราวละเท่าใด ทำหนังสือกู้ลงวันเดือนปีใด. เพียงแต่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องก็พอ.

เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คัดค้าน ต้องยื่นคำแถลงคัดค้านไว้.

บัญชีทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564วรรค 1 ซึ่งนำมาใช้กับการจัดการมรดกตามมาตรา 1730.ย่อมหมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดก ภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว. หาได้หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกที่ทำยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่.

เมื่อคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารและศาลมีคำสั่งตั้งตามขอแล้ว. ผู้เชี่ยวชาญนั้นจึงเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้ง ศาลย่อมรับฟังรายงานความเห็นของผู้เชี่ยวชาญนั้นได้. โดยไม่ต้องเรียกให้มาสาบานหรือปฏิญาณรับรองรายงานนั้นอีก

บทความที่น่าสนใจ

-หากศาลตั้งผู้จัดการมรดกหลายคนคนใดตายจะต้องดำเนินการอย่างไร

-พินัยกรรมห้ามโอนทรัพย์มรดก

-สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก

-เมื่อลูกหนี้ตายเจ้าหนี้จะฟ้องทายาทลูกหนี้รับผิดได้หรือไม่

-ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินเกินส่วนของตน

-เมื่อลูกหนี้ตายเจ้าหนี้ต้องฟ้องลูกหนี้ภายใน1ป